เกาะยาว
ความเป็นมาในอดีต สัณนิฐานว่า คนกลุ่มแรกที่เดินทางมาตั้งหมู่บ้านในเกาะยาวเป็นชาวประมงซึ่งออกเดินทางเร่ ร่อนทำการประมงในทะเลอันดามัน เมื่อถึงหน้ามรสุมจึงหาสถานที่เพื่อหลบคลื่นลม เมื่อพบพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงตั้งบ้านเรือน และชวนกันอพยพมาตั้งบ้านเรือน สร้างเรือกสวนไร่นา ที่ทำมาหากิน คนกลุ่มแรก หัวหน้ากลุ่ม คือ โต๊ะหลวงชิต (มโนห์รายอดทอง) และโต๊ะแม่ฝ้าย อพยพมาจากจังหวัดตรังในราว พ.ศ. 2270 และประมาณปี พ.ศ. 2328 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กองทัพเรือของพระเจ้าปะดุงแห่งหงสาวดีบุกเข้าโจมตี เมืองถลาง ในศึกถลางครานั้นไม่เพียงแต่ชาวถลางเท่านั้นที่ลุกขึ้นต่อสู้ป้องกันเมือง ยังมีกองทัพหัวเมืองทางภาคใต้ เช่น เมืองนคร เมืองไทรบุรี ร่วมกับกองทัพของกรุงเทพฯ ยกกองทัพมาช่วยเมืองถลาง ซึ่งในการเดินทางของกองทัพนั้นไม่สามารถที่จะเดินข้ามไปยังเมืองถลางผ่านทาง ช่องแคบปากพระ(ช่องแคบสะพานสารสิน)ได้ เพราะมีกองทัพพม่าเฝ้าดูอยู่ หลวงท้ายน้ำซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่จึงได้ยกทัพผ่านจังหวัดตรัง มาตั้งทัพที่เมืองตะลิบง(ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรังในปัจจุบัน) เพื่อที่จะยกกองทัพมาทางเรือ ไปเมืองถลาง ในการเดินทัพในครั้งนั้นได้กวาดต้อนคนในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูลมาช่วยรบกับกองทัพพม่าด้วย กองทัพของหลวงท้ายน้ำได้นัดกับกองทัพหัวเมืองในภาคใต้ให้มารวมทัพกันที่เกาะ ยาวน้อย (ซึ่งในปัจจุบันสถานที่ตั้งกองทัพที่เกาะยาวน้อยได้เรียกว่า "บ้านท่าค่าย") เมื่อกองทัพทั้งหมดมาพร้อมกัน ก็ยกกองทัพผ่านไปทางเกาะนาคาและไปขึ้นทีเมืองถลางต่อไป หลังเสร็จสงครามทหารและพลเมืองที่โดนกวาดต้อนมากับกองทัพส่วนหนึ่งก็ไม่เดิน ทางกลับ ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะยาว ที่มาจาก จังหวัดตรังก็ตั้งบ้านเรือนที่ เกาะยาวน้อย เช่น นายอุเส็น นายอุสัน ตั้งบ้านเรือนที่โล๊ะหา(อ่าวใน) ที่มาจากจังหวัดสตูลและเมืองไทรบุรี ที่นำโดย หวัน มาลี ก็ตั้งบ้านเรือนที่เกาะยาวใหญ่
ก่อนปี พ.ศ. 2446 บริเวณเกาะเหล่านี้ขึ้นตรงต่ออำเภอเมืองพังงา ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 24 หมู่บ้าน มีนายบ้านเป็นผู้ดูแลปกครอง มีที่ทำการเป็นศาลาเล็ก ๆ เรียกกันว่า "ทำเนียบ" จะมีเจ้าหน้าที่จากอำเภอมาตรวจตราและเก็บภาษีอากรเป็นครั้งคราว การเดินทางก็ใช้เรือแจวหรือเรือใบเท่านั้นและต้องใช้เวลาเดินทางแต่ละครั้ง หลายวัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ยกฐานะบริเวณเกาะเหล่านี้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกชื่อว่า "กิ่งอำเภอเกาะยาว" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าหัวหน้ากิ่งอำเภอเป็นใคร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 ได้มีปลัดอำเภอเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก ชื่อนายชื่น วาสนาวิน ในสมัยนี้ ได้ย้ายที่ทำการจากทำเนียบมาอยู่เป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ปลูกสร้างขึ้นที่ ชายทะเลด้วยการอาศัยแรงงานราษฎรช่วยกันสร้างโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 - 2492 (เอกสารของจังหวัด พ.ศ. 2487 – 2492) นายยศ เปลี่ยนศรีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเกาะยาวคนที่ 9 ได้เป็นผู้นำราษฎรสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้นใหม่ โดยไม่ใช้เงินของทางราชการ และได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมเข้ามาข้างในประมาณ 1 กิโลเมตร อาคารที่ทำการหลังนี้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2508 ก็ได้รับงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังใหม่ ใช้เป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอตลอดมาจนถึงขณะนี้ การติดต่อกับจังหวัดนิยมใช้การเดินทางผ่านจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ 120 กิโลเมตร ทางกิ่งอำเภอจึงทำเรื่องขอโอนไปขึ้นกับจังหวัดภูเก็ตหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ คือ ปี พ.ศ. 2507 ครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2517 ครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2523 ครั้งหนึ่ง
ต่อมาครั้งนายประธาน วิไลชนน์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอเกาะยาวได้ทำหนังสือถึงจังหวัดเพื่อขอยก ฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอตามหนังสือที่ พง 0116/1843 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ขอให้ยกฐานะเป็นอำเภอเป็นกรณีพิเศษและจังหวัดได้ทำหนังสือเสนอเรื่องนี้ไป ยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือที่ พง 0016/12982 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2527 และกรมการปกครองได้ตอบหนังสือมายังจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ให้ทางจังหวัดแจ้งผลการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ สภาจังหวัด และสรุปเหตุผลในการยกฐานะเป็นอำเภอโดยย่อส่งกรมการปกครองอีกครั้งหนึ่ง ถึงปลายปี พ.ศ. 2528 ทางจังหวัดดำเนินเรื่องเพื่อยกฐานะกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอถึงกระทรวง มหาดไทยตามหนังสือดังกล่าว
ต่อมาทางจังหวัดได้รับให้ยกฐานะกิ่งอำเภอเกาะยาวขึ้นเป็น "อำเภอเกาะยาว" ได้และทางจังหวัดได้ทำพิธีเปิดอำเภอขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 อำเภอเกาะยาวจึงมีฐานะเป็นกิ่งอำเภออยู่ 85 ปี ทั้งนี้ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 104 ตอนที่ 278 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น