สถิติการเยี่ยมชมบล็อกของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สวนผึ้ง

สวนผึ้ง

        
       สวนผึ้งเป็นอำเภอสุดเขตแดนราชบุรีติดสันเขาตะนาวศรี สุดแดนแผ่นดินไทยทางด้านตะวันตกอีกด้วยเดิมทีนั้นสวนผึ้งขึ้นกับอำเภอจอมบึง ในปี พ.ศ. 2525 ได้แยกตัวและยกฐานะขึ้นมาเป็นอำเภอสวนผึ้ง 
       สภาพ ภูมิประเทศของสวนผึ้งนั้นขนาบด้วยเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนตะวันตกมีทั้ง ป่าเขา น้ำตก ธารน้ำภาชี แม้จะตื้นน้ำไหลเชี่ยวแต่ก็เป็นลำธารที่ยาวไกล หล่อเลี้ยงชีวิตคน ต้นไม้ และสัตว์ในที่แห่งนี้ในแนวป่าลึกชนชายแดนระหว่างไทยกับพม่านั้นมีต้นไม้ใหญ่ โตมากขนาดสี่คนโอบต้นไม้นี้บรรดาหมู่ผึ้งและมิ้มมาทำรวงรังขนาดใหญ่มากรัง หนึ่ง ๆ กว้างเป็นเมตร ต้นหนึ่ง ๆ มีถึงกว่า 200 รังทีเดียวชาวบ้านกะเหรี่ยงจะอาศัยการตีรังผึ้งซึ่งถือเป็นน้ำหวานของป่าที่ หวานหอมบริสุทธิ์จากดอกไม้ป่ามายังชีพต้นไม้แห่งรังผึ้งนี้ชาวบ้านกะเหรี่ยง เรียกว่า "ไหมซ่าเลียง" ชาวบ้านไทยเรียกว่า "ต้นชวนผึ้งหรือยวนผึ้ง" นี่เป็นที่มาของชื่อ อำเภอสวนผึ้งปัจจุบันยังมีน้ำผึ้งหวานหอมบริสุทธิ์แท้จากป่าวางขายกันอยู่ แม้จะน้อยลงไปอย่างมากแล้วก็ตามและมาจากแนวป่าเขตพม่าเสียส่วนใหญ่สวนผึ้ง เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนเมืองกรุงอีกครั้งในยุคเศรษฐกิจเบ่งบานเป็นฟอง สบู่อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2538 ก็เพราะความงามตามธรรมชาติแวดล้อมไปด้วยป่าเขาทำให้ผู้คนนิยมมาท่องเที่ยวใน ดินแดนแห่งนี้เกิดการจัดสรรที่ดินมีบ้านพักแบบรีสอร์ทขึ้นมากมายมีร้านอาหาร การกินขึ้นเป็นดอกเห็ดเรียงรายตามสองข้างถนนนับจากเขตจอมบึงไล่เรื่อยมาจน สุดแดนอำเภอสวนผึ้ง
ลักษณะ ภูมิประเทศ เต็มไปด้วยป่าเขาเนินดิน พื้นดินเป็นที่ชันเสียส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่ามากนัก นอกจากมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์แล้วยังพบแร่ดีบุกตามสันเขาอีกหลายแห่ง จึงมีการขุดร่อนแร่ขึ้นตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มเปิดการค้าเสรี มีการสัมปทานทำเหมืองแร่อย่างเป็นล่ำเป็นสันสวนผึ้งเมื่อก่อนเป็นเมืองกัน ดานขาดการติดต่อสันจร เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการให้สัมปทานบัตรขุดแร่ดีบุกเหมืองก็ถูกพัฒนามี การตัดถนนเข้าเหมืองระยะทางหลายสิบกิโลเมตรเพื่อลำเลียงเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องกลหนักมาใช้ทำเหมือง ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นประชากรของเหมืองแต่ละแห่งมากมายนับร้อย ๆ คนทำให้เกิดชุมชน เกิดตลาด มีไฟฟ้าน้ำบาดาลให้ใช้ มีวัด โรงเรียน สถานีอนามัย ร้านค้า มีแม้กระทั่งบาร์และบ่อน ในยามนั้นสวนผึ้งจึงคึกคักและเริ่มมีการคมนาคมติดต่อกับผู้คนภายนอกต่อมาแร่ ดีบุกตก เหมืองเสื่อม ผู้คนอพยพไปอยู่ที่อื่น สวนผึ้งก็เงียบเหงาลง แต่ยังคงมีการค้าขายที่ชายแดนจนกระทั่งด่านปิดตัวลง การค้าขายจึงซบเซาลงอย่างมาก

         อำเภอสวนผึ้งเดิมเป็นตำบลสวนผึ้งขึ้นอยู่กับอำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี  ได้อนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอสวนผึ้งขึ้นเมื่อวันที่  21 ตุลาคม  2517  เปิดทำการบริการ ประชาชน  เมื่อวันที่ 15  พฤศิกายน  2517
อำเภอสวนผึ้ง เดิม เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจอมบึง เรียกว่า "ตำบลสวนผึ้ง"  เป็นตำบลที่มีพื้นที่ กว้างขวาง ทุรกันดาร เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ การคมนาคม ไม่สะดวก   ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง การปกครองดูแลเป็นไปด้วยความยาก ลำบาก รัฐบาลจึงได้จัดส่งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ที่ 70 กรป.กลาง บก.ทหาร สูงสุด ประกอบด้วยทหาร 3 เหล่าทัพ และข้าราชการ พลเรือน  ซึ่งเป็นผู้แทน ของกระทรวง  ทบวง กรม ต่างๆ  พร้อมที่จะดำเนินการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ การคมนาคม และการเมือง ตั้งแต่เมื่อวัน ที่ 20 มีนาคม 2511-2514 ต่อมากระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศแบ่งพื้นที่อำเภอ จอมบึง   โดยตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอสวนผึ้ง เมื่อวัน ที่ 15 พฤศจิกายน 2517  และต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอสวนผึ้ง เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2526

         ที่มาของคำว่า  "สวนผึ้ง"    เนื่องจากพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอมีสภาพแวด ล้อมประกอบด้วย ธรรมชาติ ป่าไม้ เทือกเขา  และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้าน เรียกว่า  “ต้นผึ้ง"   ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีสีขาวนวลไม่มีเปลือกกะเทาะหรือ ลอกให้เห็น   และที่สำคัญคือจะมีผึ้งจำนวนนับแสนนับล้านตัวมาอาศัยทำรังบน ต้นผึ้งเท่านั้น

        มีเขตการปกครอง  5  ตำบล  คือ  ตำบลสวนผึ้ง  ตำบลป่าหวาย  ตำบลบ้านบึง  ตำบลท่าเคย และตำบลบ้านคา  สภาพท้องถิ่นทุรกันดาร  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าไม้  มีภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทั่วไป  ระยะทางจากอำเภอจอมบึง  30 ก.ม.  ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี  60  กิโลเมตร  และได้ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่  1  เมษายน  2525  

 

อาณาเขต    อำเภอสวนผึ้ง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนผึ้ง  ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำภาชีอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอจอมบึงและจังหวัดราชบุรี
ทิศเหนือ           ติดต่ออำเภอเมืองกาญจนบุรี
ทิศใต้               ติดต่อกับอำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก       ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า

 

ลักษณะภูมิประเทศ 

     อำเภอ สวนผึ้ง  มีสภาพเป็นที่ป่าและภูเขา  มีที่ราบตามไหล่เขาและที่ราบตอนกลางของพื้นที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกและ เลี้ยงสัตว์บ้างเล็กน้อย

พื้นที่ 
    มีเนื้อที่ประมาณ  2,145 ตารางกิโลเมตร

คำขวัญอำเภอสวนผึ้ง
     สาวกระเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี  ลำภาชีแก่งส้มแมวแนวหินผา  ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา  น้ำผึ้งป่าหวานซึ่งติดตรึงใจ

ทะเลน้อย

    ทะเลน้อย

 

     ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด อยู่ในอำเภอควนขนุนจังหวัด   พัทลุง  ทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลาโดยมีคลองนางเรียมเชื่อมระหว่างทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาทะเลน้อยเป็นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี พืชส่วนใหญ่เป็นพืชน้ำที่โดดเด่นและสร้างสีสันให้กับทะเลน้อยได้แก่ สาหร่ายหางกระรอกสาหร่ายข้างเหนียว ที่มีดอกเล็กๆสีเหลือง สีม่วงสวยงาม บัวหลวง บัวสายบัวเเผื่อน เป็นต้นความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในวงจรธรรมชาติของทะเลน้อยเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของนกน้ำนานาชนิดทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพใช้เป็นที่อาศัยช่วยเติมแต่งทะเลน้อยที่สวยงามจากมวลไม้น้ำได้มีความสมบูรณ์มีชีวิตชีวาตามครรลองของธรรมชาติ
     สภาพพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทั้ง หมด 450 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ ส่วนพื้นดินมีเนื้อที่ 422 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 94 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายทะเลสาบ ประกอบด้วยนาข้าวและป่าหญ้า ป่าพรุและป่าเสม็ด เป็นแอ่งน้ำมีพืชปกคลุม และที่ราบเชิงเทือกเขาบรรทัด มีเนินเขาสูงราว 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นน้ำมีเนื้อที่ 28 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด คือ ตัวทะเลน้อยนั่น เอง มีความกว้างราว 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ยราว 1.5 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว กระจูด หญ้าน้ำกก ปรือ และ กง กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณน้ำตื้นและค่อนข้างนิ่ง

เกาะมุก-ถ้ำมรกต จังหวัดตรัง

    

เกาะมุก-ถ้ำมรกต จังหวัดตรัง

 

 

 

  
      เกาะมุก อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ถ้าเอ่ยถึงถ้ำมรกต ทุกคนจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ถ้ำมรกตเป็นเป้าหมายของนักเดินทางที่มายังท้องทะเล ตรัง เป็นถ้ำทะเลที่ มีความงดงามตระการตาอย่างมาก จากปากทางเข้าถ้ำซึ่งเป็นโพรงเล็กๆ ช่วงเวลาน้ำลดโพรงนี้จะสูงพ้นระดับน้ำพอเรือลอดได้ แต่หากช่วงน้ำมากอาจจะต้องว่ายน้ำเข้าไป บริเวณปากทางเข้าถ้ำแสงจากภายนอกจะสะท้อนกับน้ำทะเลในถ้ำ ทำให้เห็นเป็นสีเขียวมรกต สวยงาม แปลกตา ประหนึ่งจิตรกรรมแห่งธรรมชาติที่ได้บรรจงสร้างให้มวลมนุษย์ได้ชื่นชม เมื่อถึงอีกด้านหนึ่งของถ้ำเป็นหาดทรายขาวสะอาดน้ำใสน่าเล่น ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน เกาะมุกมิใช่มีเพียงถ้ำมรกตเท่านั้น แต่ทางด้านฝั่งตะวันออกยังมีชายหาดที่สวยงาม บริเวณแหลมๆ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนบ้านเกาะมุก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง ด้านซ้ายและขวาของหัวแหลมคือหาดหัวแหลม และ อ่าวพังงา มีหาดทรายขาวละเอียดสวยงาม
 

เกาะเสม็ด

เกาะเสม็ด


เกาะเสม็ด

          เดือน เมษาหน้าร้อนในปีนี้ หลายคนคงเตรียมทริปดีๆ ไว้สำหรับพักผ่อน หย่อนใจ คลายความร้อน กันแล้วล่ะ และแน่นอน แหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ คงหนีไม่พ้น "เกาะเสม็ด" สถานที่ยอดฮิตพิชิตความร้อนของเมืองระยองฮินั่นเอง  เสน่ห์มัดใจของที่นี่ นอกจากจะมีชายหาดขาวสะอาด น้ำทะเลเย็นใสน่าสัมผัสแล้ว ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกทั้งยามกลางวันและค่ำคืน ที่สำคัญการเดินทางไปก็ไม่ยากนัก เพราะอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ เท่าไรด้วยนะ

          นอกจากนี้ ภายในเกาะเสม็ด ยังประกอบไปด้วยชายหาดและอ่าวต่างๆ ที่เรียงรายยาวสุดลูกลูกตา ที่นักท่องเที่ยวต่างการันตีว่าถ้าไปถึงแล้วแทบจะไม่อยากกลับเลยทีเดียว

           หาดทรายแก้ว  ชายหาดชื่อคุ้นหู สำหรับนักท่องเที่ยว ที่หลงใหลในความเฮฮาปาร์ตี้  เรียกว่าเป็นหาดที่ไม่เคยหลับ เพราะมีกิจกรรมร้อยแปดให้เลือกสรร เริ่มอุ่นเครื่องในช่วงเช้าด้วยการเล่นน้ำทะเล ต่อด้วยนอนเอกเขนกรับแสงแดดในช่วงกลางวัน จากนั้นมานั่งเล่นยามเย็นชมพระอาทิตย์ตก พอค่ำหน่อยก็ดริ๊งค์แอนด์แดนซ์ใต้แสงจันทร์  โอ๊ย! มันส์หยดติ๋งจนลืมเวลากลับเลยล่ะคะ
เกาะเสม็ด
เกาะเสม็ด


           อ่าววงเดือน คึกคักไม่แพ้ หาดทรายแก้ว เพียงแต่อ่าวนี้ยังพอมีมุมสงบ ให้ผู้ที่มีโลกส่วนตัวสูงปลีกวิเวกไปทางด้านหัวอ่าวได้ ส่วนชาวแก๊งค์ที่รักความสนุกสนาน ไปรวมตัวกันที่กลางอ่าวได้เลย

           หาดคลองพร้าว ลักษณะหาดกว้างเป็นครึ่งวงกลม เหมาะสำหรับนั่งชมพระอาทิตย์ตก และที่สำคัญบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะกับผู้คนที่อยากหลบหนีความวุ่นวายดีนัก  ส่วนชายหาดที่นี่จะกว้างมากชวนเพื่อนฝูงเล่นกีฬาริมหาดได้สบาย

           อ่าวช่อ/อ่าวทานตะวัน อ่าวช่อ และอ่าวทานตะวัน มีโค้งอ่าวที่ติดต่อกัน ทั้ง 2 อ่าวเหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อย่างแท้จริง ผู้คนไม่พลุกพล่าน หาดทรายขาว และสวยงาม ลงตัวดีกับวันพักผ่อนของคุณ

           อ่าวทับทิม เป็นอ่าวเล็กๆ ที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนนอนฟังเสียงคลื่นเป็นที่สุด

           อ่าวแสงเทียน เป็นอ่าวที่รักษาความเป็นธรรมชาติไว้ได้มากที่สุด  ฉะนั้นถ้าคุณเป็นนักท่องเที่ยว ประเภทกินลมชมวิว นอนนับดาวแล้วละก็ อ่าวแสงเทียน เป็นอีกอ่าวหนึ่ง ที่คุณไม่ควรพลาดเลยทีเดียว

           อ่าวหวาย อ่าวหวายค่อนข้างไกลจากหัวเกาะ  เรียกว่ายังคงความสวยงามในแบบธรรมชาติได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวที่รักสงบ และต้องการความเป็นส่วนตัวม๊ากมาก ต้องมาที่อ่าวหวายเท่านั้นค่ะ
 
           อ่าวกิ่วหน้านอก พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างแท้จริง เพียงคุณชอบสัมผัสหาดทรายขาวละเอียด ไม่ต้องเบียดเสียดผู้คน พร้อมนั่งชมพระอาทิตย์ขึ้นและตก ที่สำคัญใช้เวลาเดินไม่นาน ระยะทางประมาณ 100 เมตรก็จะถึงจุดชมวิว ที่อ่าวกิ่วหน้าใน ที่นี่ถือเป็นแหล่งดื่มกินบรรยากาศที่ดีทีเดียว

           อ่าวกะรัง เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำ และชมประการังได้  และยิ่งในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค.(ปะการัง แค้มปิ้ง) คุณจะได้พบกับนักตกปลามากหน้าหลายตา เพราะพวกเขาแห่กันมาชมปลาอินทรีย์ที่เยอะที่สุด

           อ่าวน้อยหน่า ถึงแม้อยู่ใกล้กับหาดทรายแก้ว แต่บรรยากาศนั้นต่างกันสุดขั้ว (ประมาณว่าอยู่ป่ากับรัชดาซ.4..หุหุ) เรียกว่าใครที่ชอบความเงียบสงบ รักการอ่าน อยากอาบแสงแดดเคล้าน้ำทะเล บริเวณนี้มีพร้อมสรรพรอเพียงคุณหิ้วกระเป๋ามาเท่านั้น

           อ่าวลูกโยน เป็นอีกหนึ่งอ่าวของเหล่าพลพรรครักสงบ เพราะที่นั่นผู้คนไม่พลุกพล่าน  บรรยากาศแถบนั้นก็ชิลล์สุดๆ ถ้าคุณชอบความเงียบสงัดล่ะก็ อ่าวลูกโยนเค้าจัด...ด...ดให้

           อ่าวไผ่ อยู่ใกล้ชิดติดกับหาดทรายแก้ว มีเพียงโขดหินบางๆ คั่นอยู่ นักท่องเที่ยวส่วนมาก จะเหมาเดินเที่ยวหาดทรายแก้ว ไล่ไปจนถึง อ่าวไผ่ ในบริเวณโขดหิน มีวิวสวยงาม เหมาะกับการอาบแดด ถ่ายรูป ฯลฯ มีข้อแนะนำนิดนึงสำหรับผู้ที่ลงเล่นน้ำ ห้ามย่างกรายไปบริเวณที่มีธงสีแดงปักอยู่เป็นอันขาด เพราะตรงนั้นเป็นจุดน้ำวนค่ะ

           อ่าวนวล เป็นอ่าวเล็ก ๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความสมถะ เรียบง่าย เพราะที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก 

           อ่าวขาม เป็นอ่าวหิน ที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเข้ามา นอกจากจะนั่งเรือผ่านมาขึ้นทางอ่าวพร้าว ลักษณะภูมิประเทศ ของอ่าวขาม คล้ายๆ กับแหลมเรือแตก


การเดินทาง
ผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัว มีหลายเส้นทางให้เลือกดังนี้

         
- เส้นทางแรก ทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางปู อำเภอบางปะกง จังหวัดชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา หาดจอมเทียน สัตหีบ อำเภอบ้านฉาง ไปจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

          - เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา-ตราด) เริ่มจากตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อำเภอบางนา ผ่านอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 ที่กิโลเมตรที่ 70 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นก็จะผ่านเส้นทางเดียวกันกับเส้นทางที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

          - เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 36 (บายพาส 36) จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 2 จนถึงกิโลเมตรที่ 140 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 36 จากนั้นให้เดินทางต่อไปยังจังหวัดระยองด้วยระยะทาง 70 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร

          - เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 7 (สายมอเตอร์เวย์) เริ่มจากถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 75 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 36 เป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 175 กิโลเมตร

          และ ผู้ที่ใช้บริการรถสาธารณะ มีรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ไปยังตัวจังหวัดระยอง และอำเภอต่างๆ ในจังหวัดหลายเส้นทาง ได้แก่

          - สายกรุงเทพฯ - ระยอง, บ้านเพ, แกลง, แหลมแม่พิมพ์, มาบตาพุด, ประแสร์ เป็นต้น

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0  2391 2504

          - สถานีเดินรถโดยสาร จังหวัดระยอง โทร.  0 3861 137 9

          การเดินทางไปเกาะ จะมีเรือจากท่าเรือบ้านเพ บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ค่าโดยสารระหว่างบ้านเพ-เกาะเสม็ด (ไป-กลับ 100 บาท/ท่าน) ใช้เวลาเดินเรือประมาณ 40 นาที ส่วนเรือ speed boat อยู่ที่คนละ  250 บาทหรือเหมาลำประมาณ 1,500 - 2,600 บาท

          การเดินทางบนเกาะ มี ถนนเพียงสายเดียว เป็นทั้งถนนคอนกรีตและถนนดิน และบนเกาะก็มีรถสองแถว(TAXI) บริการไปตามหาดต่าง ๆ ค่ารถประมาณ 10-500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง หากต้องการจะเหมาเที่ยวทั้งเกาะราคาประมาณ 800 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยและสนใจมอเตอร์ไซต์เช่า ราคาเริ่มต้นที่ 300 บาท

หมู่เกาะพีพี

  หมู่เกาะพีพี

     หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก อยู่ในตำบลอ่าวนาง เขตอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีระยะทางระหว่างจากจังหวัดกระบี่ประมาณ 42 กิโลเมตร และห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 40 กิโลเมตร หมู่เกาะพีพีประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ รวมกัน 6 เกาะ ซึ่งประกอบด้วย เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะบิด๊ะนอก เกาะบิด๊ะใน เกาะยูง เกาะไผ่ นอกจากเกาะต่าง ๆ แล้วยังมีเวิ้งอ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวโล๊ะลาน่า อ่าวโล๊ะดาลัม อ่าวหยงกาเส็ม อ่าวต้นไทร อ่าวโล๊ะบาเกา อ่าวผักหนาม อ่าวรันตี อ่าวบิเล๊ะ อ่าวมาหยา และอ่าวโล๊ะซามะ

    ลักษณะเด่นของหมู่เกาะพีพี หมู่เกาะพีพีมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 11.2 ตร.กม. เฉพาะเกาะพีพีดอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 9.408 ตร.กม.

สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะพีพี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาโดยเฉพาะภูเขาหินปูนสูงชัน พื้นที่ราบและหาดทรายกระจายอยู่ทุกเกาะตลอดจนมีแนวปะการัง และสรรพชีวิตใต้ทะเลอุดมสมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด มีปลาทะเลชนิดต่างๆ หลากหลายสีสัน และจะมีแพลงตอนจำนวนมาก น้ำทะเลมีสีเขียวอมฟ้าใสงามดังมรกต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกในความงดงามตามธรรมชาติจนได้ รับการขนานนามว่าเป็น " มรกตแห่งอันดามันสวรรค์เกาะพีพี" เหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปชมทัศนียภาพทางทะเลเป็นอย่างดี
 อ่าวมาหยา
     เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงทั้งในด้านความสมบูรณ์ทาง ธรรมชาติและ ชื่อเสียงในด้านใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง The Beach โดยลักษณะทั่วไปของอ่าวมาหยา จะมีภูผาที่ปกครอบด้วยพรรณไม้สีเขียวโอบล้อมเปรียบเสมือนกำแพงอ่าว น้ำทะเลที่ใสดุจดังกระจกสามารถมองเห็นพื้นทรายหรือปะการังเบื้องล่างได้ อย่างง่าย เมื่อขึ้นสู่ชายหาดจะสัมผัสได้กับพื้นทรายที่ขาวนวลละเอียด และเมื่อมองออกไปเบื้องหน้าภายนอกเปรียบเสมือนเราถูกโอบล้อมด้วยขุนเขามี เบื้องหน้าเปรียบเสมือนประตูเข้ามา ยามผู้คนน้อยนิดไม่ผิดอะไรกับอีกโลกหนึ่งที่เราสัมผัสได้ ช่วงเหมาะกับการเที่ยวอ่าวมาหยานั้นอยู่ในช่วงตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งในช่วงนี้จะมีสภาพคลื่นลมไม่แรง เพราะถ้าคลื่นลมแรงจะทำให้น้ำบริเวณนั้นขุ่นไม่ใส และช่วงนี้หาดทรายจะทอดตัวเป็นแนวราบยาวลงทะเล แต่ถ้าเป็นช่วงมรสุมจะมีสภาพคลื่นลมค่อนข้างแรงมาก ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ และบริเวณหาดทรายจะถูกคลื่นซัดยกตัวขึ้นสูงจนบางครั้งไม่สามารถขึ้นสู่ฝั่ง ได้ และการเดินทางไปบริเวณอ่าวมาหยาในช่วงมรสุมนั้นถือว่าค่อนข้างอันตรายมาก ยิ่งถ้าเป็นเรือเล็กขอห้ามโดยเด็ดขาด

โละซามะ
     เนื่องจากบริเวณนี้อยู่เข้าไปด้านในมีเกาะเล็กเป็นเสมือนกำบังลมจึงทำให้ บริเวณนี้นักท่องเที่ยวมักนิยมนำเรือมาลอยลำเพื่อลงดำผิวน้ำ ดูปะการัง และสนุกกับฝูงปลามากมาย ที่คอยแหวกว่ายรอบตัวเรา บริเวณสามารถเข้าท่องเที่ยวได้ตลอด แต่ช่วงระยะที่เดินทางภายนอกก่อนเข้าไปในโละซามะต้องใช้ความระมัดระวังใน ช่วงหน้ามรสุมเพราะคลื่นลมแรง แต่ถ้าสามารถเข้าไปบริเวณด้านในจะค่อนข้างสงบเพราะมีเกาะเล็ก ๆ บังลมและคลื่นไว้

ปิเละ
    เป็นสถานที่อยู่ภายในเข้าไปในหุบเขา โดยเรือสามารถแล่นเข้าไปภายใน ( ต้องระวังเรื่องระดับน้ำด้วย ) และเมื่อเข้าไปภายในจะเปรียบเสมือนคล้ายลากูนใหญ่ ที่มีขุนเขากั้นรอบด้าน ท้องน้ำที่เรียบสงบ ใสดุจดังกระจก เหมาะอย่างยิ่งในการลงเล่นน้ำ จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมลอยลำลงเล่นน้ำบริเวณนี้ บริเวณปิเละจะไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับคลื่นลมเท่าไรในช่วงหน้ามรสุม แต่จะลำบากในช่วงเดินทางเข้าไปเท่านั้น

หาดยาว
    เป็นชายหาดที่ตั้งอยู่บนเกาะพีพีดอน มีลักษณะแนวหาดชายที่ทอดตัวยาว บริเวณแห่งนี้มีน้ำทะเลที่ใสมาก แต่จะมีลักษณะที่ทอดตัวลงทะเลและหักเป็นก้นกะทะ จึงต้องระวังในการเล่นน้ำด้วย บริเวณหาดทรายยามเมื่อกระทบแสงแดดทำเกิดแสงสะท้อนมาก เนื่องจากเป็นหาดทรายที่ขาวนวลละเอียด และบริเวณนี้ยังมีรีสอร์ท และบังกะโล เปิดให้บริการมากมายตลอดแนว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพักผ่อนนอนแอบแดด บริเวณหาดยาวเหมาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงไม่มีคลื่นลม ทะเลเรียบน้ำจะใสมาก แต่หลังจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงมรสุมอาจมีคลื่นลมบ้าง และน้ำจะไม่ใสเท่าที่ควรเพราะคลื่นซัดทำให้น้ำขุ่น แต่ก็สามารถท่องเที่ยวได้

หินแพร
     เป็นแนวหินที่อยู่ไม่ไกลจากฝั่งสามารถว่ายไปถึงได้ บริเวณนี้จะมีแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม และฝูงปลาหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ จึงเหมาะอย่างยิ่งในการดำผิวน้ำ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมนำเรือมาลอยผูกทุ่นเพื่อดำผิวน้ำกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณนี้อยู่ด้านหน้าของหาดยาว ดังนั้นสภาพอากาศจึงไม่แตกต่างจากหาดยาวมากนัก

เกาะไผ่
    เป็นเกาะส่วนหนึ่งของหมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่บริเวณตรงข้าม แนวแหลมตง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาดมาก และน้ำทะเลที่ใส เหมาะแก่การเล่นน้ำ พักผ่อน ภายในบนเกาะยังมีป่าสนคอยให้ความร่มรื่น และบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติ มีห้องน้ำบริการนักท่องเที่ยว บริเวณเกาะไผ่ในช่วงมรสุมในบางครั้งไม่สามารถนำเรือขึ้นเทียบหาดได้ เพราะคลื่นลมจะค่อนข้างแรง และสภาพน้ำทะเลไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ

เกาะนกยูง
    เป็นเกาะที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะไผ่ เป็นเกาะที่เมื่อเวลาน้ำขึ้นจะไม่มีแนวชายหาด จะมีแนวชายหาดเฉพาะน้ำลงเท่านั้น นักท่องเที่ยวไม่นิยมเดินทางมามากนัก เพราะลักษณะโดยทั่วไปเป็นเขาสูงไม่สามารถขึ้นไปด้านบนได้

อ่าวต้นไทร
    บริเวณแห่งนี้ถือว่าเป็นจุดที่มีการพัฒนาความเจริญมากที่สุด เป็นบริเวณที่มีผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ พักอาศัย และประกอบอาชีพหลากหลายอยู่ และเป็นจุดที่ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของเกาะพีพี อาทิ การดำน้ำลึก การเช่าเรือท่องเที่ยวรอบหมู่เกาะพีพี มีร้านอาหาร และสินค้าที่ระลึกมากมาย ปัจจุบันนี้ ( พฤษภาคม 2549 ) สภาพของอ่าวต้นไทร ไม่เหมาะกับการเล่นน้ำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบริเวณนี้มีท่าเทียบเรือ ซึ่งเรือที่เดินทางจากสถานที่ต่าง ๆจะมาเทียบท่าบริเวณนี้ ดังนั้นเมื่อเรือเข้าออกเป็นจำนวนมาก จึงเกิดมลภาวะเกี่ยวกับน้ำทะเลในด้านของเสียที่ปล่อยจากเรือทำให้น้ำบริเวณ ไม่สะอาดเท่าที่ควร และหาดทรายบริเวณนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการพักผ่อน แต่อ่าวต้นไทรเหมาะแก่การเดินชมทิวทัศน์ และการค้าขายในรูปแบบต่าง และที่แห่งนี้ยังมีจุดชมวิวจากบนเขาลงมาเห็นภาพข้างล่างของอ่าวต้นไทรได้สวย งามมาก ที่อ่าวต้นไทรยังเป็นแหล่งบันเทิงในหลายรูปแบบยามค่ำคืน ที่นี่จึงไม่เหงาแม้ผู้คนจะมากหรือน้อย
    
  แหลมตง
     เป็นบริเวณที่ตั้งของรีสอร์ท และร้านอาหาร นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวบริเวณนี้โดยมากจะเป็นลูกค้าของรีสอร์ทที่ตั้ง อยู่บริเวณนี้ และที่แห่งนี้เหมาะอย่างยิ่งกับผู้รักความสงบของธรรมชาติ และการเดินทางมาบริเวณแหลมตงนั้นจะต้องใช้ทางเรืออย่างเดียว แม้จะอยู่บริเวณเกาะพีพีดอนก็ตาม และที่แห่งนี้ไม่มีความบันเทิงใด ๆ บริการแก่นักท่องเที่ยว ดังนั้นที่จึงเหมาะแก่การพักผ่อนอย่างเดียว

เกาะสีชัง

เกาะสีชัง  นาม "สีชัง"  


       


      จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม “สระชัง” คงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เข้าใจว่า ต่อมาการออกเสียง “สระชัง” อาจเพี้ยนไปเป็น “สีชัง” ซึ่งเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า เช่นเดียวกับคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น บางปลากง ออกเสียงเป็น บางปะกง บางเชือกหนัง ออกเสียงเป็น บางฉนัง วัดเสาประโคน ออกเสียงเป็น วัดเสาวคนธ์ ทัพพระยา ออกเสียงเป็น พัทยา เป็นต้น ได้มีการสันนิษฐานกันเป็นหลายนัยเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า
คำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้างก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้ง
รกรากทำมาหากินอยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม คำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะและ
มีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมายถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป
( มิได้หมายถึงสระน้ำแห่งความชิงชัง ) เช่นเดียวกับคำว่า สระบาป ซึ่งเป็นชื่อเทือกเขาใน
จังหวัดจันทบุรี สระบาป หมายถึง การชะล้างเอาบาปทิ้งไป ( มิได้หมายถึงห้วงน้ำแห่งบาป ) จึงถือโอกาสนี้ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ เมื่อคราวเสด็จประพาสจันทบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พรรณนาเกี่ยวกับคำว่า สระบาปไว้ดังนี้

                      สระบาปบาปก่อนสร้าง ปางใด         สระบ่สระทรวงใน สร่างสร้อย
                      สระสนานยิ่งอาไลย นุชนาฏ             สระช่วยสระบาปน้อย หนึ่งให้สบนา
                                        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                      สระบาปบาปสร่างสิ้น ฉันใด            สระบ่สระโศกใน อกบ้าง
                      สระสร่างแต่กายใจ                          ยังขุ่น เขียวแฮ
                      สะจะสระโศกร้าง                             รุ่มร้อนฤามี
                                            กรมหลวงพิชิตปรีชากร

       อนึ่ง คำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากคำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น้ำ หรือ ห้วงน้ำ
ในภาษาเขมร คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่เพี้ยนมาเช่นเดียวกัน เช่น สทิงพระ สทิงหม้อ คลองพระสทึง ฉะเชิงเทรา เป็นต้น คำว่า ฉะเชิงเทราเพี้ยนมาจาก สทึงเทรา ที่แปลว่า แม่น้ำลึก หรือห้วงน้ำลึก โดยนัยดังกล่าวข้างต้น คำว่า สระชัง ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก สทึง กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจนเป็น สระชัง ในที่สุดก็อาจเป็นได้ ในสมัยโบราณ เมื่อการ
      เดินทางค้าขายกับต่างประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นสำคัญ ไทยเราได้มีการ
ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในบรรดาสินค้าที่นำไปขายมีเครื่องสังคโลกรวมอยู่ด้วย ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยเป็นจำนวนมากได้อับปางในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก 
บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปากอ่าวเข้าสู่
ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นที่หมายแห่งสายตา จะมีก็แต่เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือแล่นเรือ
มาถึงบริเวณนี้และมองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็น
ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ คำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน
     จากหลักฐานต่างๆ แสดงว่าได้มีการเรียกชื่อเกาะสีชังว่า สระชัง กันมาแต่เดิมแล้ว อย่างน้อยก็คงก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ หลังจากนั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า คำว่า สระชัง ได้เลือนมาเป็น สีชัง ตั้งแต่สมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดีเท่าที่พบปรากฏว่าได้มี
การใช้คำว่า สีชัง เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ อันเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่านสุนทรภู่
เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ ดังปรากฏในคำกลอนตอนหนึ่งว่า

                      เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ                เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
                      ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง                ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเคราะห์กรรม

     หลังจากนั้นมาได้มีการใช้คำว่า สีชัง แพร่หลายขึ้น และคงจะไม่มีการเลือนไปเรียก
เป็นอย่างอื่นอีกต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการจดบันทึกชื่อของสถานที่แห่งนี้ลงในทำเนียบของ
ทางราชการ กล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ได้เสด็จประพาสเกาะสีชัง โดยเรือกลไฟที่ต่อในประเทศไทย ชื่อ สยามอรสุมพล และได้มีการยกเกาะสีชังขึ้นเป็นอำเภอเกาะสีชัง ขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ได้มีการยุบอำเภอเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอ
เกาะสีชัง ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ กระทรวงมหาดไทยได้โอนกิ่งอำเภอเกาะสีชังจากอำเภอเมือง
สมุทรปราการไปขึ้นกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอในจังหวัด
ชลบุรี เกาะสีชังได้ชื่อว่าเป็นภูมิสถานที่มีอากาศบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการที่ผู้เจ็บป่วย
หรือร่างกายไม่แข็งแรง หากได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นได้ ประกอบกับเกาะสีชังนี้มีภูมิประเทศที่สวยงามเป็นที่ร่มรื่น มีทั้งทะเลและป่าเขาลำเนาไพร ที่มีความงามตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยประเทืองใจให้แช่มชื่น และเมื่อผู้ใดมีความ
สบายกาย สบายใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีอายุยืนนานโดยเหตุที่เกาะสีชัง
เป็นสถานที่ที่มีอากาศดีมีภูมิประเทศที่สวยงามประกอบกับอยู่ไม่ไกลเมืองหลวงมากนักบรรดา
เจ้านาย ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป ตลอดจนชาวต่างประเทศ ต่างก็นิยมมาพักผ่อน พักฟื้น
และรักษาตัวกันเป็นจำนวนมากในอดีต เท่าที่ปรากฏในหลักฐาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เคยเสด็จประพาสเกาะสีชังโดยเรือกลไฟสยามอรสุมพลนับเป็นครั้งแรก
ที่พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ยังเกาะสีชัง เกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีประชาชนอาศัย
อยู่มากนัก ด้วยเพิ่งจะเริ่มเข้ามาอยู่กันไม่กี่ครัวเรือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะสีชังอยู่เนืองๆ ทุกครั้งที่เสด็จฯ จะมียายเสม ซึ่งเป็นหญิงชาวเกาะที่เป็น
ผู้ใหญ่ เป็นที่นับถือของชาวเกาะได้เข้าเฝ้าฯ ทุกครั้ง ญาติพี่น้องของยายเสมเป็นผู้ที่มี อายุ
มากด้วยกันทุกคน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสรรเสริญเกาะสีชังว่า
เป็นสถานที่ ที่อากาศดี ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนเกาะจึงมีอายุยืนนานปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในโอกาส
ที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะสีชังนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก็เคยตามเสด็จฯ มาด้วยหลายครั้ง

หาดนางรำ

         หาดนางรำ

   หาดนางรำ เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทะเลน้ำใสสีฟ้าคราม สวยงาม อยู่ในเขตทหาร ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ภายใน หาดนางรำ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น สโมสรร้านอาหาร เครื่องดื่ม อาคารพักรับรอง ทั้งห้องปรับอากาศและธรรมดา ที่หาดมีเก้าอี้ผ้าใบ เสื่อ ให้เช่า สามารถเช่าเรือพายเล่นในทะเล หรือจะเล่นบานาน่าโบ๊ทก็มีให้บริการ
      หาดนางรำ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน รถยนต์ เสียค่าบำรุงสถานที่คันละ 20 บาท รถตู้ 30 บาท รถบัส 50 บาท


 


    หาดนางรำ มีความยาวชายฝั่งประมาณ 200 เมตร สุดปลายหาดคือแหลมนางรำมีรูปปั้นพระอภัยมณีและผีเสื้อสมุทรเลยจากแหลมนางรำ ไปก็จะเป็นหาดนางรองสามารถเดินไปได้ครับ หาดนางรองจะเงียบๆและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า


 


      ที่มาของ หาดนางรำ เดิมหาดนางรำเป็นหาดที่ไม่มีชื่อ จากตำนานของชาวบ้านเล่าว่าคำว่า นางรำ เป็นชื่อเรียกเกาะที่อยู่ตรงข้ามหาดนางรำในปัจจุบัน เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัย และไม่ค่อยมีคนไปเที่ยวนัก อยู่มาวันหนึ่งมีเสียงดนตรีมโหรีดังกึกก้องมาจากเกาะนี้ คล้ายเสียงดนตรีที่ใช้ในการร่ายรำ วันดีคืนดีก็มีเสียงดนตรีดังขึ้นจากเกาะนี้อีก ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนี้ว่า เกาะนางรำ และหาดที่อยู่ตรงข้ามจึงเรียกหาดนางรำ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน




      เรือคายัคให้เช่าชั่วโมงละ 80 บาท รวมเสื้อชูชีพ นั่งได้ไม่เกิน 3 คน เอาเข้าจริงๆพายไม่ถึงชั่วโมงหรอกเพราะมันเหนื่อยและร้อน



ช่วยกันพาย สามัคคีคือพลัง



อดใจไม่ไหวของลงทะเลดีกว่า




น้ำทะเลใสๆกับโขดหิน



สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณหาดนางรำ
  • สโมสรการท่าเรือสัตหีบ มีบริการอาหาร , เครื่องดื่ม เปิดเวลา 10.30-21.00 น
  • ร้านอาหารส้มตำ ไก่ย่าง ยำ อาหารทะเล ขนม เครื่องดื่มมีให้เลือกหลายร้าน
  • ร้านขายเสื้อผ้าเล่นน้ำทะเล ของที่ระลึก
  • ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำจืด
  • เช่าเสื่อ ราคา 10 บาท/ผืน
  • ห่วงยาง ราคา 20 บาท/ห่วง/2 ชั่วโมง
  • เตียงผ้าใบ ราคา 20 บาท/ตัว
  • โต๊ะวางของใหญ่ ราคา 20 บาท/ตัว
  • โต๊ะวางของเล็ก ราคา 10 บาท/ตัว

ปฏิทิน

เพลง ความพยายาม