สถิติการเยี่ยมชมบล็อกของฉัน

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระจุฑาธุชราชฐาน

         พระจุฑาธุชราชฐาน ตั้งอยู่ ณ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี อดีตเคยเป็นพระราชวังฤดูร้อนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 ก็สิ้นสุดการเป็นเขตพระราชฐาน และมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาขอใช้พื้นที่ ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอใช้พื้นที่บางส่วนเพื่อเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต และทำหน้าที่ดูแลรักษาพระจุฑาธุชราชฐานไปในคราวเดียวกัน
   ในปี พ.ศ. 2431 พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระประชวร โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์หลวงให้ให้เสด็จมาประทับรักษาพระองค์ที่เกาะสีชัง จนพระอาการทุเลาลง นอกจากนี้ เกาะสีชังยังเป็นที่พักฟื้นของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธอีกพระองค์
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้าง “อาคารอาไศรยสฐาน” ขึ้น 3 หลังพระราชทานนามว่า "เรือนวัฒนา" ตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี "เรือนผ่องศรี" ตามพระนามของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี และ "เรือนอภิรมย์" ตามพระนามของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์[1]
ปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานมายังเกาะสีชัง ซึ่งในขณะนั้นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีทรงพระครรภ์ใกล้มีพระประสูติการ ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงสร้างพระราชฐานขึ้น และพระราชทานนามพระราชฐานนี้ว่า “พระจุฑาธุชราชฐาน[2] ตามพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก[1]โดยการก่อสร้างพระราชฐานนั้นมี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช เป็นแม่กอง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพศาสตรศุภกิจ เป็นนายช่างผู้ออกแบบ โดยประกอบด้วย พระที่นั่ง 4 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งโกสีย์วสุภัณฑ์ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ พระที่นั่งโชติรสประภาต์ พระที่นั่งเมขลามณี และ ตำหนัก 14 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักวาสุกรีก่องเก็จ ตำหนักเพ็ชรระยับ ตำหนักทับทิมสด ตำหนักมรกตสุทธิ์ ตำหนักบุษราคัม ตำหนักก่ำโกมิน ตำหนักนิลแสงสุก ตำหนักมุกดาพราย ตำหนักเพทายใส ตำหนักไพฑูรย์กลอก ตำหนักดอกตะแบกลออ ตำหนักโอปอล์จรูญ ตำหนักมูลการะเวก ตำหนักเอกฟองมุก ซึ่งพระราชทานนามให้สอดคล้องกันหมด
พ.ศ. 2436 เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 การก่อสร้างพระที่นั่งและตำหนักต่าง ๆ ก็ชะงักลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงโปรดให้รื้อถอนพระที่นั่งและตำหนักบางส่วนไปสร้างไว้ที่อื่น เช่น พระที่นั่งมันธาตุรัตน์โรจน์ ซึ่งเป็นพระที่นั่งเครื่องไม้สักทอง ๓ ชั้น โปรดให้เชิญมาสร้างขึ้นใหม่ใกล้พระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2443 พระราชทานนามใหม่ว่า "พระที่นั่งวิมานเมฆ" หลักจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 พระจุฑาธุชราชฐานจึงมิได้เป็นพระราชวังในการเสด็จแปรพระราชฐานตั้งแต่นั้นมา
หลังจากนั้น พระจุฑาธุชราชฐานจึงใช้เป็นสถานที่ของหน่วยงานราชการหลายแห่ง ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบสิทธิ์การใช้ที่ดินบางส่วนจากกรมธนารักษ์ เพื่อเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต และทำหน้าที่ดูแลรักษาพระจุฑาธุชราชฐานซึ่งเป็นโบราณสถานในเขตที่ดินดังกล่าวไปในคราวเดียวกัน

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดอยอ่างขาง

ประวัติความเป็นมา
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยคำว่า "อ่างขาง" ในภาษาเหนือ หมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็ค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน
เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้
จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"
ข้อมูลทั่วไป
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด -3 องศาเซลเซียส
บนดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตั้งอยู่ในเขตบ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่สถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านคุ้ม และบ้านหลวง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ
สถานที่ท่องเที่ยวในโครงการเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ได้แก่
  • เรือนดอกไม้
    มีการจัดแสดงพรรณไม้ไว้เป็นกลุ่มตามฤดูกาล เช่น สวนกล้วยไม้ซิมบิเดียม , กลุ่มกล้วยไม้รองเท้านารี , กลุ่มดอกโคมญี่ปุ่น , ไม้ดอกกระถางตามฤดูกาล , ไม้ดอกตามฤดูกาลกลางแจ้ง และพืชกินแมลง 
แปลงสาธิตไม้ดอก
แปลงจะอยู่บริเวณใกล้ทางเข้าสถานี จะจัดแสดงไม้ดอกกลางแจ้งชนิดต่าง มีทั้งไม้ดอกที่ปลูกลงดิน และไม้แขวนหมุนเวียนตามฤดูกาล

ท่องโลกกว้างตัวคนเดียว...เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัย
 
  
          โลกใบนี้กว้างใหญ่ไพศาลขนาดว่าใช้เวลา ทั้งชีวิตยังไม่พอให้ค้นหา การออกเดินทางคือการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งในชีวิตที่ในหลักสูตรใด ๆ ไม่มีสอน ชีวิตคนก็เหมือนกับเรือ หากไม่ยอมแล่นออกจากท่า เรือชีวิตคงไปไม่ถึงไหน ตราบใดที่ยังมีแรง มีกำลัง มีสองแขน สองขา ให้หนึ่งสมองคิดวางแผนพาหนึ่งหัวใจในร่างกายเดียวของคุณออกเดินทางโลดแล่นไปในโลกกว้าง เปิดใจค้นหาและตอบรับสิ่งใหม่ ๆ ให้กระทบหัวใจของคุณได้รับรู้ความรู้สึกที่แปลกแตกต่างจากที่ที่คุณเกิดมาบ้างก็คงเป็นกำไรชีวิตงาม ๆ ที่ตลาดหุ้นทั้งตลาดก็ให้ไม่ได้

          สุข สงบ เศร้า คิดถึง ดื่มด่ำ และนิ่งได้อย่างไม่น่าเชื่อ เป็นความรู้สึกที่คุณผู้รักการเดินทางจะได้รับ ยามที่คุณต้องท่องโลกกว้างคนเดียว ที่การไปเที่ยวกันเป็นแก๊งจะไม่มีทางได้รู้ และก่อนแพ็กกระเป๋าออกเดินทาง อย่าลืมพกกติกาประจำตัวที่นักลุยเดี่ยวควรต้องรู้ไว้ประดับกาย ได้แก่...
1. ต้องมีเครือข่าย
          ถึงจะลุยเดี่ยวแต่ใช่ว่าจะโดดเดี่ยวเสียหน่อย ก่อน ที่คุณจะเดินทางที่ไหนก็ตาม ในโลกด้วยตัวคนเดียว นอกจากจะต้องศึกษาภูมิหลังของสถานที่นั้นอย่างคร่าว ๆ (หรือจะละเอียด ก็แล้วแต่อัธยาศัย) คุณควรมองหาว่ามีใครบ้างที่รู้จัก ที่พอจะติดต่อได้ยามฉุกเฉิน หรือถ้าในกรณีไม่ฉุกเฉิน ก็คือการขอพึ่งใบบุญเขานั่นเอง ให้เขาพอแนะนำอะไรได้บ้าง เป็นการเซฟตัวเองไว้ดีกว่า
2. ปลอดภัยไว้ก่อน
          ก่อนเดินทางควรตรวจสอบท้องถิ่นที่คุณจะไป ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหว ทางการของที่นั่นครั้งล่าสุด เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อคุณไปถึงที่หมายแล้ว จะไม่มีการก่อการร้ายเกิดขึ้นแน่ ๆ
3.เป็นนาย/ นางละเอียดด้วย
          กฎข้อนึงของนักท่องเที่ยวแบ๊กแพ็กเกอร์ ใช่เพียงทำตามหัวใจอย่างเดียว บางทีก็ต้องสมเหตุสมผลกันบ้าง อย่างการคำนวณเรื่องที่พักอาศัย เวลา และเงิน ที่คุณควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ๆ เลย เพราะเรายังไม่ใช่มือโปรระดับ “ค่ำไหนนอนนั่น”  หลังจากที่คุณเลือกจุดหมายปลายทางเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนหลังจากนั้นคือ การตรองว่าคุณต้องการอะไรจากการท่องเที่ยวในครั้งนี้บ้าง เช่น วัฒนธรรม วิถีชาวบ้าน, กิจกรรม, ไปสูดอากาศ หรือไปเพื่อยกระดับการเที่ยวของคุณให้สูงขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องเลือกบนพื้นฐานความพอใจ ไม่ใช่ตามแบบอย่างใคร และประเมินขีดจำกัดของตัวเองด้วย
4. ก้าวเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่
          เริ่มต้นจากก้าวเล็ก ๆ ที่คุณสามารถจัดการได้ก่อน คุณอาจเริ่มต้นจากพักโฮมสเตย์ที่ไว้ใจได้ ในสถานที่ใกล้ ๆ และคุ้นเคย ดูไม่เสี่ยงจนเกินไป สำหรับการเที่ยวคนเดียวในครั้งแรก ๆ ของชีวิต เมืองไทยมีมากมายตามจังหวัดที่มีประเพณี วิถีชีวิตอันเรียบง่ายทว่างดงาม ใกล้กรุงเทพฯ หรือทะเล ใกล้ ๆ ที่มีคนปูทางไว้เรียบร้อยแล้ว แค่หิ้วกระเป๋าก็เดินปร๋อไปหย่อนใจได้ จากนั้นค่อยก้าวยาว ๆ แบบไม่ต้องกระโดด ขึ้นภู ลงดอย เที่ยวหมู่บ้านชาวเขา หรือล่องใต้ ข้ามเกาะแก่งไปตามหาหัวใจ (นักเดินทาง) ที่อยู่ในตัวคุณ
5. ทำตัวกลมกลืน
          อีกหนึ่งกลเม็ดเคล็ดลับในการเที่ยวแปลกถิ่นแบบคนเดียว คือ คุณควรแสดงตัวประหนึ่งคนคุ้นเคยในสถานที่นั้น ให้เนียน ๆ เข้าไว้ เป็นการกันไว้ไม่ให้พวกมิจฉาชีพที่จ้องจะขย้ำคนแปลกถิ่น มีช่องมา ทำมิดีมิร้ายคุณได้ ไม่ว่าจะทำอะไรต้องมั่นใจ เชิดหน้าเข้าไว้ สอบถามทางก็ซักให้ละเอียด อย่าทำงกเงิ่นออกมา แรก ๆ คุณอาจเก้อเขินในการไปไหนมาไหนคนเดียว แต่พอเข้าครั้งที่สองที่สาม ก็จะชินขึ้นตามสภาพ
6. หาไฮไลต์ที่ที่ไป
          แม้จะต้องเที่ยวคนเดียว แต่ก็ควรจะเก็บสถานที่เด็ด ๆ ให้ครบถ้วน ไปถึงถิ่นทั้งที อะไรที่ เขาแนะนำไว้เป็นต้องลองตามสูตร ไม่งั้นไปไม่ถึงที่ อะไรดี ๆ เด่น ๆ ก็ควรจะลองซะ ชอบไม่ชอบ ดีไม่ดี จะได้รู้ไว้แนะนำคนอื่นได้ ไว้เพิ่มเติมบันทึกแห่งการเดินทางของชีวิตคุณเพิ่มอีกสักบรรทัด...ซึ่งแต่ละบรรทัดนั้นได้สัมผัสรับรู้มาด้วยหัวใจและสองขาของคุณเอง เริ่มต้นเดินทาง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่มันจะสาย....ก่อนหัวใจจะไร้พลัง แพ็กกระเป๋าลุยเดี่ยวไปเติมจิตวิญญาณที่ใกล้จะห่อเหี่ยวเต็มทีกันเถอะ

ทะเลสวย น้ำใส

เรื่องสั้นสอนใจชายขายผัก
 ชายขายผักคนหนึ่ง ทุกวันเขาจะถอนผักในไร่ล้างแล้วจัดใสตระกร้าหาบไปเร่ ขายตามบ้าน โดยเขาจะหาบไปตามเส้นทางเดิม คนที่ซื้อล้วนเป็นขาประจำ ในจำนวนขาประจำมีบ้านเศรษฐีรวมอยู่ด้วย ทุกวันคนในบ้านเศรษฐีมักจะซื้อผักกับเขา เศรษฐีและภริยาแอบสังเกตเห็นว่าคนขายผักลักษณะท่าทาง เป็นคนซื่อ จึงคิดจะยกลูกสาวให้วันหนึ่งคุณนายได้ถามคนขายผักว่า ที่บ้านนอกจากเธอแล้วยังมีใครอีกบ้าง? ” “ผมกำพร้าพ่อแม่ ไม่มีพี่น้องอยู่กับคุณอาตงแต่เด็กจนโตครับ” “เธอยินดีที่จะเป็นลูกเขยบ้านฉันมั๊ย?” คุณนายถามตรงๆ คนขายผักถูกคุณนายถามอย่างกะทันหันถึงกับนิ่งอึ้ง ในใจคิดว่าตนเป็นลูกกำพร้ายากจน หาบผักขายไปวันๆ ไหนเลยเศรษฐีจะเอาตนเป็นลูกเขยหรือว่าฟังผิดไป ดังนั้นจึงไม่ได้ตอบคำถามของคุณนาย ฝ่ายคุณนายคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในชีวิต เขาคงต้องกลับไปคิดไตร่ตรองอีกที การไม่ตอบถือเป็นเรื่องปกติ ฉะนั้นจึงไม่ได้ถามซ้ำอีก แต่คนขายผักยังคงคิดถึงคำถามของคุณนายตลอดเวลา เมื่อกลับถึงบ้าน จึงบอกอาเขาถึงคำถามของคุณนาย อาเขยกล่าวว่า หลานเอ๋ย เขาเป็นคนรวย แกเป็นคนจนไม่คู่ควรกัน ใครเขาจะเอาแกเป็นลูกเขย เขาคงพูดเล่นกับแกมากกว่า อย่าไปคิดมากเลยคนขายผักรู้สึกคำพูดของคุณอามีเหตุผล จึงไม่กล้าเพ้อฝัน ทุกวันยังคงหาบผักไปเร่ขายตามปกติ
        วันหนึ่ง เขาหาบผักมาถึงหน้าบ้านเศรษฐี คุณนายถามอย่างจริงจังว่าวันก่อนฉันถามเธอว่าเธอยินดีจะเป็นลูกเขยบ้านฉันไหม คิดไตร่ตรองแล้วเป็นยังไง ทำไมไม่เห็นมาบอกคนขายผักได้ฟังรู้ว่าคุณนายพูดจริงไม่ได้พูดเล่นจึงบ อกคุณนายถึงคำพูดของอาเขา คุณนายกล่าวว่า เรื่องแต่งงานจะพูดเล่นได้อย่างไร เมื่อกลับไปบ้านปรึกษากับอาแล้วอย่าลืมมาให้คำตอบด้วยนะ
        วันต่อมา สองอาหลานได้มาบ้านเศรษฐี อาเขาถามว่า หลานผมว่าคุณนายจะให้เขาเป็นลูกเขย เป็นความจริงหรือเปล่าครับ” “เป็นความจริง เราทั้งสองอายุมากแล้วมีแต่ลูกสาวสามคนไม่มีลูกชาย หลานคุณเป็นคนซื่อ เราจึงคิดจะยกลูกสาวคนโตให้เขาเศรษฐีกล่าวอย่างจริงใจแต่บ้านเรายากจนไม่มีสินสอดจะให้ทำยังไง” “เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล เราต้องการลูกเขยไม่ใช่สินสอดแล้วพิธีแต่งงานก็ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย คนขายผักได้ทั้งภรรยาแสนสวยและทรัพย์สินก้อนโตที่ติด มากับเจ้าสาว ทำให้เจ้าหนุ่มดีใจมาก
        หลังจากแต่งงาน เนื่องจากความเป็นอยู่ไม่ขาดแคลนและมีพ่อตาแม่ยายคอย ให้ความช่วยเหลือแนะนำ คนขายผักจึงไม่ต้องหาบผักเร่ขายอีก สามีภรรยาต่างรักใคร่กันมาก วันเวลาแห่งความสุขผ่านไปได้เพียง 3 ปีก็เกิดเหตุไม่คาดฝันภรรยาเกิดล้มป่วยและเสียชีวิตล ง คนขายผักเศร้าโศกเสียใจมาก เศรษฐีก็เสียใจมากเช่นกัน เจ้าลูกเขยตั้งแต่เมียตายก็เอาแต่ร้องไห้โศกเศร้า เศรษฐีเห็นก็รู้สึกลูกเขยรักลูกสาวจริง
        วันหนึ่งเศรษฐีกล่าวกับภรรยาว่า ถ้าเขาแต่งงานใหม่กับคนอื่น เราทั้งสองก็จะขาดที่พึ่ง บัดนี้ลูกสาวคนที่สองก็โตเป็นสาวแล้ว ให้แต่งกับเขาเลยดีไหม ฝ่ายภรรยาเห็นด้วยเช่นกัน แต่ยังเกรงลูกสาวจะไม่ตกลงจึงเรียกลูกสาวมาถาม ซึ่งเธอก็ยินดี แล้วเรียกลูกเขยมาถาม ลูกเขยไม่อาจขัดความหวังดีของพ่อตาแม่ยายก็ตกลงคนขาย ผักแต่งกับลูกสาวคนที่สองของเศรษฐีได้เพียง 3 ปี ภรรยาคนใหม่ก็ป่วยตายอย่างกะทันหัน ทุกคนในบ้านต่างเศร้าโศกเสียใจ ที่โศกเศร้าที่สุดก็คือลูกเขย บุตรสาวคนโตและคนที่สองต่างแต่งงานได้เพียง 3 ปี ก็ตายเหมือนๆ กันอะไรเช่นนี้ หรือว่าชะตาชีวิตลิขิต เศรษฐีเห็นลูกเขยเศร้าโศกมากรู้สึกเห็นใจ จึงปรึกษาภรรยาว่าลูกคนเล็กโตเป็นสาวแล้วให้แต่งกับล ูกเขยแล้วกัน ภรรยาก็เห็นด้วย เศรษฐีจึงเรียกลูกสาวและลูกเขยมาถาม ซึ่งทั้งคู่ต่างยินดีที่จะแต่งงานกัน แต่งงานกันได้ 3 ปี ลูกสาวคนเล็กก็ถึงแก่กรรมอย่างไร้สาเหตุ
        ในวันที่เศรษฐีและลูกเขยกำลังจัดการเรื่องงานศพอยู่ข ณะนั้นมีพระรูปหนึ่งมาบิณฑบาต คุณนายกำลังกลุ้มใจก็กล่าวว่าเคราะห์ร้ายอย่างนี้ใส่บาตรไร้ประโยชน์ เศรษฐีปลอบใจภรรยาว่า ลูกสาว 3 คนตายหมดเหลือแต่เราสองตายาย คงเป็นกรรมเก่า นิมนต์อาจารย์ไปนั่งรอที่ห้องรับแขกก่อน ฉันจะไปซื้อกับข้าวมาทำอาหารเจถวายก็เป็นกุศลอย่างหนึ่งท่านเศรษฐีออกไปครู่หนึ่ง คุณนายเนื่องจากร้องไห้จนเหนื่อยอ่อนจึงหลับไป ในความฝันได้ยินพระที่มาบิณฑบาตกล่าวกับนางว่าในอดีตชาติสามีของโยมเป็นคนแจวเรือโดยสารข้ามฟาก ส่วนลูกเขยของโยมเป็นพ่อค้าใหญ่ ครั้งหนึ่งเขานำเครื่องเพชรจำนวนมากจะไปเมืองหลวง โดยได้ว่าจ้างเรือสามีโยมข้ามฟาก คาดไม่ถึงว่าสามีโยมเห็นทรัพย์เกิดความโลภ พอเรือไปถึงกลางแม่น้ำก็ผลักเขาลงแม่น้ำจมน้ำตาย แล้วยึดเอาทรัพย์สินของเขาไป ลูกสาว 3 คนของโยมตอนนั้นเป็นผู้โดยสารที่ร่วมมาในเรือลำเดียว กัน สามีของโยมเกรงว่าพวกเขาอาจไปเปิดเผยความลับ จึงปิดปากพวกเขาด้วยเงินคนละ 30 ตำลึง ครั้นสามีของโยมตายแล้ว วิญญาณตกสู่ยมโลก ยมบาลโมโหที่เขาฆ่าคนชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น จึงตัดสินให้เขาตกนรกชั้นที่ 18 เสวยทุกข์ เมื่อครบกำหนดโทษก็ให้เกิดเป็นควายอีก 10 ชาติ จนมาถึงชาตินี้จึงได้มาเกิดเป็นคนอีกครั้ง สามีของโยมทรัพย์สมบัติในปัจจุบันล้วนเป็นของลูกเขยโ ยมทั้งสิ้น ลูกสาว 3 คนของโยมก็คือผู้โดยสาร 3 คนนั่นในอดีตชาติ เพราะว่ามีความโลภ ยมบาลจึงปรับให้พวกเขาเป็นภรรยาของเขาคนละ 3 ปี กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ ทำไมยังต้องเสียใจอีก
        คุณนายตื่นขึ้นมา มองดูรอบๆ เมื่อครู่นี้ยังเห็นพระนั่งอยู่ในห้องรับแขก แต่บัดนี้ไม่เห็นแล้ว ครู่ต่อมา เศรษฐีหิ้วตระกร้าผักกลับมา คุณนายจึงเล่าเรื่องราวทั้งหมดกับสามี
เศรษฐีฟังจนขนลุกขนชัน แม้ว่าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ แต่เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา จะไม่เชื่อเลยก็คงไม่ได้ จึงได้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับลูกเขย แล้วออกบวชบำเพ็ญธรรม แสวงหาความหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด

"Permanent Link to ถนนคนเดิน เชียงคาน">ถนนคนเดิน เชียงคาน


จุด เด่น: เป็นถนนคนเดินที่มีบรรยากาศดีมากๆ เนื่องจากติดริมแม่น้ำโขง จึงทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ผู้คนยังมีอัธยาศัยไมตรีอันดีสามารถยิ้มแย้มให้แก่ผู้มาเยือนตลอดเวลา

จุดด้อย:
ในช่วงวันหยุดอาจมีผู้คนมาเที่ยวเยอะจนทำให้ถนนคนเดินแห่งนี้แออัดและหาที่พักรวมถึงที่จอดรถยากมากๆ

สรุป: ถนน คนเดิน อ.เชียงคานเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินช้อปปิ้งหรือถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีมุมกาแฟเล็ก ๆ ให้ได้นั่งพักผ่อน พร้อมกับชื่นชมรอยยิ้มของผู้คนริมฝั่งโขงแห่งนี้ด้วย ถนนคนเดิน เชียงคาน ถนนช้อปปิ้งสุดคลาสิคริมฝั่งโขง “เชียงคาน” ที่ที่หลายๆ คนไปเที่ยวตามกระแส หรือตามคำบอกเล่าต่อๆ กันมาและอีกหลายๆ
คนอาจไปเพียงเพราะจะได้ถ่ายรูปกลับมาอวดคนอื่นว่าไปมาแล้ว!!!
แต่ก็มีบางคนที่ไปแล้วตกหลุมรัก“เชียงคาน…..” แต่ไม่ว่าใครต่อใครจะมาเยือนเชียงคาน ด้วยจุดประสงค์ใดก็ตามดินแดนเล็กๆ แห่งนี้ ก็ยังมีธรรมชาติวัฒนธรรมและรอยยิ้มของผู้คนให้ได้พบเห็นกันเสมอ และนอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว เชียงคานยังได้ชื่อว่ามีถนนคนเดินสายคลาสิค ที่ห้อมล้อมทั้งสองฝากฝั่งด้วยบ้านไม้เก่า อันเป็นเอกลักษณ์ที่หาไม่ได้จากถนนคนเดินที่อื่นอีกด้วย //
“ถนนชายโขง” เป็นชื่อของถนนสายสั้นๆ ริมแม่น้ำโขงที่มีความยาวไม่ถึง 3 กิโลเมตร ปกติในวันธรรมดา บรรยากาศที่นี่ก็จะเงียบสงบ เรียบง่ายไม่ต่างจากวิถีชีวิตชนบทในจังหวัดอื่นๆ ที่ชาวบ้านจะตื่นกันแต่เช้า เพื่อมาทำบุญตักบาตรก่อนจะแยกย้ายไปทำงานตามภาระหน้าที่ของใครของมัน แต่พอถึงช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันหยุดสุดสัปดาห์ ถนนสายนี้ก็จะคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายที่แห่แหนกันมาใช้เวลาในวัน หยุดพักผ่อน ทำให้ถนนสายนี้คึกคัก มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันตา ดังนั้นพอแดดร่มลมตกซักหน่อย ก็ถึงเวลาออกมาเดินเล่นที่ถนนคนเดินกันแล้ว [...]

พระพุทธบาทภูควายเงิน

จุด เด่น: รอยของพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ที่มีรูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริงนอกจากนี้ด้วยความที่วัดอยู่บนภูเขาสูงจึงทำให้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านล่างบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงินได้รอบทิศ
จุดด้อย: ถนนทางขึ้นวัดถึงแม้จะเป็นทางลาดยางแต่หนทาง ก็ยังมีความลาดชันและคดเคี้ยวอยู่มาก ทำให้ผู้ที่ขับรถขึ้นไปต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร นอกจากนี้ด้วยความที่อยู่บนภูเขาสูงและไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่จึงอาจทำให้อากาศ ร้อนอยู่บ้างหากไปในช่วงกลางวัน บทสรุป: วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจของจังหวัดเลย เพราะด้วยสถานที่ตั้งซึ่งอยู่บนภูเขาสูง   พระพุทธบาทภูควายเงินสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองเลย “พระพุทธบาทภูควายเงิน”โบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ในอำเภอเชียงคานจังหวัดเลยถือเป็น ศาสนสถาน ศักดิ์สิทธิ์ สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมานาน แต่อดีตซึ่งในครั้งเก่าก่อนเชื่อกันว่า
ใครก็ตามที่จะมาถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงินได้ ต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาจริงๆ เท่านั้น
ส่วนคนที่มีบุญหรือมีวาสนาไม่ถึงก็จะมีเหตุและอุปสรรค์ต่างๆทำให้มาไม่ได้ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม พระเจ้าใหญ่พุทธฉัพรรณรังสี ที่ตามพระวรกายประดับไปด้วยกระจกเงาชิ้นเล็กๆเต็มไปหมด รูปปูนปั้นควายเงินบริเวณทางขึ้นวัด วิวทิวทัศน์รอบๆบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน  แต่ในปัจจุบันการเดินทางมาวัดแห่งนี้
สามารถทำได้อย่างสะดวกโดยใช้เส้นทางสายเชียงคาน –ปากชมที่มีระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรเมื่อถึงหมู่บ้านผาแบ่นแล้วให้ไปตามทางแยกเข้าบ้านอุมุงอีกประมาณ 3 กิโลเมตรจะถึงทางขึ้นเขาซึ่งเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ จากหลักฐานที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัด ได้ระบุไว้ว่าวัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2300เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 400 [...]


 นมัสการพระใหญ่ภูคกงิ้วชมวิวแม่น้ำโขง


จุดเด่น: องค์พระขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ที่ภูคกงิ้ว
ซึ่งเป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย
และบริเวณนี้ยังเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขง
ทำให้เห็นเป็นแม่น้ำสองสี จุดด้อย: ระหว่างทางไปยังพระใหญ่ภูคกงิ้ว
ถนนไม่ค่อยดีนัก และไม่มีที่จอดรถ ต้องจอดรถบริเวณไหล่ทาง บทสรุป:
พระใหญ่ภูคกงิ้วตั้งอยู่บนยอดภูคกงิ้ว มีทัศนียภาพที่สวยงาม
เราสามารถมองเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมสองฝั่งโขงจากมุมสูง
ดูชาวบ้านที่สัญจรไป-มาทางเรือ หรือล่องเรือหาปลาในแม่น้ำ
นมัสการพระใหญ่ภูคกงิ้ว ชมวิวแม่น้ำโขง
พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์
หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “พระใหญ่ภูคกงิ้ว”
แห่งวัดปากน้ำเหือง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร สีเหลืองทองอร่าม
หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมกับเรซิ่น องค์พระมีความสูง 19 เมตร และมีฐานกว้าง
7.2 เมตร จัดสร้างโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษาครบ 6
รอบ และในมหามงคลแห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ทรงมีแก่พสกนิกรในพื้นที่ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ โดยได้อัญเชิญปฐวีธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระธาตุพนม
พระธาตุเชิงชุม พระธาตุบังพวน พระธาตุขามแก่น พระธาตุนาคูน [...]


ปฏิทิน

เพลง ความพยายาม